info@nongsangwit.ac.th
Tel. 044-810241

foto1

ยินดีต้อนรับทุกท่าน

foto1

รักถิ่น รักไทย

foto1

สวัสดี เช้าวันใหม่ที่สดใส

foto1

อนุรักษ์สืบสานผ้าไทย

foto1

ภูมิใจในโรงเรียนของเรา

ชื่องานวิจัย   การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบโค้ชชิ่ง เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียน

                         ของครูโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ

ผู้วิจัย             นางกานต์สินี  วิเศษสมบัติ

ตำแหน่ง        รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ

สถานศึกษา  โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน  อำเภอแก้งคร้อ  จังหวัดชัยภูมิ

ปีที่ทำการวิจัย  2560-2561

บทคัดย่อ

                         การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบโค้ชชิ่ง เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน  มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการด้านการทำวิจัยชั้นเรียนของครู 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู  3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบโค้ชชิ่งเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยการเปรียบเทียบสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู   และ4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศแบบโค้ชชิ่งเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในศึกษาผลการใช้รูปแบบ ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 25 คน ปีการศึกษา 2560-2561  เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน 2) แบบสังเคราะห์เอกสารรูปแบบการนิเทศ  3) แบบนิเทศ กำกับติดตาม การพัฒนาครูให้มีความสามารถด้านวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้  4) แบบวัดสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียน  และ5)แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อรูปแบบการนิเทศแบบโค้ชชิ่ง   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สรุปผลการวิจัย

  1. บุคลากรของโรงเรียนมีความเข้มแข็งสามารถปฏิบัติตามภารกิจตามแนวคิด การมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจตามกรอบนโยบายของโรงเรียน มีความประสงค์ที่จะเรียนรู้และทำการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยชั้นเรียน  และเห็นว่างานวิจัยเป็นเรื่องที่ยาก  เนื่องจากต้องทำอย่างต่อเนื่อง
  2. สามารถพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบโค้ชชิ่งได้ ดังนี้คือ ดำเนินการอบรมตามโครงการพัฒนาครูให้มีความสามารถวิจัย โดยบูรณาการการอบรมกับกระบวนการนิเทศโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน จัดการอบรมทั้ง 4 กระบวนการ คือ  ด้านที่ 1  การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ด้านที่ 2  ขั้นตอนการพัฒนาวิธีการหรือนวัตกรรม  ด้านที่ 3  ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล  และด้านที่ 4  การสรุปผลและการเขียนรายงาน โดยผู้วิจัยเป็นผู้กำกับติดตาม การนิเทศในลักษณะของพี่เลี้ยง
  3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบโค้ชชิ่ง พบว่า ครูผู้สอนโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน จำนวน 25 คน มีความรู้ความสามารถในเรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และสามารถปฏิบัติกิจกรรมการวิจัยได้ร้อยละ 100  การฝึกอบรมเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับครูให้มีความมั่นใจกระตุ้นโดยการเป็นพี่เลี้ยงที่ดี  พูดคุย  เสนอแนะแนวทางอย่างเป็นธรรมชาติ  และเป็นกันเองระหว่างครูผู้สอน  และผู้นิเทศติดตาม  จะส่งผลต่อการวิจัยที่ตรงประเด็น  ตรงกับปัญหาการวิจัยที่แท้จริง สามารถสร้างแรงจูงใจและความมั่นใจที่ดีโดยมีการนิเทศเป็น 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1  สร้างความตระหนักในการดำเนินการวิจัยและพัฒนา  เป็นกระบวนการที่ออกนิเทศโดยการสอบถามพูดคุยกับครูผู้ทำการวิจัย 

ระยะที่ 2  เป็นระยะที่ผู้บริหารสถานศึกษาติดตามกระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาครูผู้สอน  ติดตามการแก้ปัญหาและให้คำแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาที่หลากหลาย 

ระยะที่ 3  เป็นระยะที่ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการวิจัยของครูผู้สอน เป็นการให้ข้อเสนอแนะในการบันทึกผลการวิจัยและการสรุปผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ 

ระยะที่ 4  เป็นระยะที่ผู้บริหารสถานศึกษาตรวจผลงานวิจัย  และอบรมประชุมโดยให้ครูผู้สอนซักถามปัญหาการดำเนินการ  กระบวนการวิจัย ตลอดถึงแนะนำรูปแบบการเขียนรายงานการวิจัยอย่างเป็นทางการ 

ผลการนิเทศ กำกับติดตาม การพัฒนาครูให้มีความด้านสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการ

เรียนรู้ ของครูผู้สอน พบว่า ครูส่วนใหญ่ มีความรู้ด้านการวิจัยอยู่ในระดับมาก และสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู ก่อนการเข้ารับการพัฒนาตามรูปแบบการนิเทศแบบโค้ชชิ่ง มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 20.92 คิดเป็นร้อนละ 69.72 หลังเข้ารับการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.63 คิดเป็นร้อยละ 88.75  มีพิจารณาค่าความต่างของคะแนน พบว่า หลังเข้ารับการพัฒนามีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น  5.71 คิดเป็นร้อยละ 19.03

                                4. ผลการประเมินของครู หลังเข้ารับการอบรมโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมศักยภาพด้านการวิจัยชั้นเรียน โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.26