info@nongsangwit.ac.th
Tel. 044-810241

โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีสมทบทุนเพื่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ (โดม) ผ่านการอุดหนุนซื้อบัตรชมคอนเสิร์ตหมอลำใจเกินร้อย เต็มวง นำโดย บอย ศิริชัย และแอน อรดี ในวันที่ 13 ธันวาคม 2565

2

โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีสมทบเพื่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ (โดม) วันที่ 12 ธันวาคม 2565
รับบิณฑบาตโดย หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม
หรือร่วมเป็นเจ้าภาพออนไลน์ผ่านเลขบัญชี 987-3-26973-8 ธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี: ผ้าป่าศิษย์เก่า โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน
1

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

ชื่อเรื่อง                    การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ

การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน สังกัดองค์การบริหาร

ส่วนจังหวัดชัยภูมิ

ผู้วิจัย             นางกานต์สินี  วิเศษสมบัติ  รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนหนองสังข์วิทยายน

212197

ปีที่รายงาน       2563

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้การวิจัยรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการจำเป็นในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบ (Design and Development : D and D) และพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research: R2) เป็นการนำไปใช้ (Implementation : I) การทดลองใช้รูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินผล (Evaluation : E) การประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร และโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอในรูปแบบพรรณนาความ เก็บรวบข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

  1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและศึกษาความต้องการ เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน
  1. ร่างต้นแบบรูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของร่างรูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ คือ 1. การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Share Vision) 2. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) 3. การจัดการเรียนรู้ (Instruction) 4. การชี้แนะแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) 5. การสะท้อนผล (After Action Review)
  2. การนำต้นแบบรูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ในภาคสนาม โดยการวิจัยเชิงทดลองแบบการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากกลุ่ม จากครูผู้สอน จำนวน 24 คน
  3. ผลการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 คำสำคัญ : การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ,เสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู