info@nongsangwit.ac.th
Tel. 044-810241

ชื่อเรื่อง  รายงานการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุข

          ศึกษาและพลศึกษา เรื่องพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น ของนักเรียนชั้น

          มัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้

ผู้วิจัย   นายมนตรี  ลีเขียว

โรงเรียน  มัธยมหนองศาลา  ปีที่พิมพ์ 2561

บทคัดย่อ

 

        รายงานการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่องพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาสุขศึกษา เรื่องพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นวัยรุ่น โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน หลังจากจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 2 โรงเรียนมัธยมหนองศาลา อำเภอแก้งคร้อ  จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 1    ปีการศึกษา 2561  จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) ทั้งนี้เนื่องจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน  และมีการจัดห้องเรียนโดยคละความสามารถของนักเรียนทั้งเรียนเก่ง  เรียนปานกลาง  และเรียนอ่อน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  จำนวน 6 ชุด  2) ข้อสอบย่อยประจำชุดกิจกรรมกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 6 ชุด เป็นข้อสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวนชุดละ 10 ข้อ รวมเป็น 60 ข้อ  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นข้อสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00  มีค่าอำนาจจำแนก (B) รายข้ออยู่ระหว่าง  0.332 ถึง 0.736   มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยใช้วิธีของ Lovett เท่ากับ 0.921  4) แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบ่งเป็น 4 ด้าน  ได้แก่  ด้านเนื้อหา  ด้านกิจกรรมการเรียนรู้  ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้  และด้านการวัดและประเมินผล จำนวน 15 ข้อ ความสอดคล้อง (IC)  ถ้าได้ค่าเฉลี่ยตั้งแต่  0.60  ถึง 1.00  มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.379 ถึง 0.894  ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยหาสัมประสิทธิ์แอลฟา (a-Coeffcient) ตามวิธีการเท่ากับ 0.916 5) แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนรู้  จำนวน 12 แผน 12 ชั่วโมง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า

  1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาสุขศึกษา เรื่องพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  จำนวน 6 ชุด 12  ชั่วโมง  โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.59/85.99 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80

       

  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังจากจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  เรื่องพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
  2. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (   = 4.14)