info@nongsangwit.ac.th
Tel. 044-810241

ชื่อผลงานทางวิชาการ การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพสถานศึกษา โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทาง
วิชาชีพ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนชีวิตวิถีใหม่ ของโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน

ชื่อผู้เสนอผลงาน
สถานศึกษา
ปีที่จัดทำผลงาน
บทคัดย่อ
นายวรรณพจน์ เฮงสุวรรณ
โรงเรียนโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
2563

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพสถานศึกษา โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทาง
วิชาชีพ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน สังกัดองค์การบริหารส่วน
จังหวัดชัยภูมิ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ
การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพสถานศึกษา โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อยกระดับ
ผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนชีวิตวิถีใหม่ ของโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
2) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพสถานศึกษา โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อ
ยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนชีวิตวิถีใหม่ ของโรงเรียนหนองสังข์วิทยาย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพสถานศึกษา โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อยกระดับ
ผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนชีวิตวิถีใหม่ ของโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
4) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการบริหารคุณภาพสถานศึกษา โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนชีวิตวิถีใหม่ ของโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ชัยภูมิ ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย ในการวิจัยคือครูโรงเรียน
หนองสังข์วิทยายน จำนวน 25 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1– 6 จำนวน 410 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน
435 คน เป็นระยะ 1 ปีการศึกษาตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม 2563 - เดือนมีนาคม 2564 เครื่องมือ ที่ใช้ในการ
วิจัยประกอบไปด้วย แบบวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรมแบบ
สัมภาษณ์ แบบบันทึกการประชุม แบบบันทึกการนิเทศ) รวมทั้งสิ้น 12 ฉบับ ซึ่งผู้วิจัยได้ พัฒนาขึ้นและมีการ
ตรวจสอบคุณภาพ โดยมีค่าความตรงเชิงโครงสร้างตั้งแต่ 3.50 และผู้วิจัยได้ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบผสานวิธี (Mixed Methods) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลเชิง ปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งสถิติ
ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยได้ใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าเฉลี่ย (
X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติ
อ้างอิงในการเปรียบเทียบข้อมูลด้านความรู้ ด้านการการนิเทศภายใน ความรู้ความเข้าใจด้านการคิดวิเคราะห์
ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และนำเสนอผล
โดยการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาการบริหารคุณภาพสถานศึกษา โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อ
ยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนชีวิตวิถีใหม่ ของโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน หลักการวัตถุประสงค์ปัจจัยสนับสนุน
และขั้นตอน การโคช 8 ระยะ ได้แก ระยะที่ 1 การวิเคราะหความตองการจำเป็น และกำหนดประเด็นการ
พัฒนา (Analyzing Needs and Deciding Focus : A) ระยะที่ 2 การเตรียมการดานความรูและทักษะการ
ปฏิบัติการโคช (Preparing Knowledge and Skills for Coaching : P) ระยะที่ 3 การร่วมมือกันวางแผน
และกำหนดวัตถุประสงคของการพัฒนา (Collaborative Planning and Setting Objective : C) ระยะที่ 4
การปฏิบัติการโคช (Coaching : C) ระยะที่ 5 การทบทวนระหว่างกระบวนการและอภิปรายไตรตรองสะท้อน
คิด (Mid Cycle Reviewing and Reflective Discussion : M) ระยะที่ 6 การดำเนินการปฏิบัติการโคชตอ

(Proceeding Coaching Cycle : P) ระยะที่ 7 การทบทวนไตรตรองสะทอนคิดและสรุปผล (Reflective
Reviewing and Conclusions : R) และระยะที่ 8 การประเมินผลการใช รูปแบบการโค ชร วมกัน
(Collaborative Evaluation of Coaching Model Implementation : E) ผลการตรวจสอบร่างรูปแบบต
นแบบการโคช โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พบวา ประสิทธิภาพดานความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีความเป็นไปได้ของ
รูปแบบ และความสอดคลองของรูปแบบ รายขอมี คาระหว่าง 3.80 - 4.80 สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ระหว่าง
0.44 – 0.89
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพสถานศึกษา โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อ
ยกระดับผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนชีวิตวิถีใหม่ ของโรงเรียนหนองสังข์วิทยายน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ครูได้รับความรู้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จากการอบรมฝึกอบรมจากวิทยากมาให้
ความรู้ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ทำให้ครูมีความรู้ความเข้าใจ การจัดการ
เรียนการสอนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมากพอสมควร แต่ครูไม่ได้นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมา
จัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียน เพราะครูคิดว่ามีความยุ่งยากในการสอนมาก ยากต่อการทำความเข้าใจของ
นักเรียน ใช้เวลาในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมากทำให้สอนไม่ทันตามเนื้อหา
จากปัญหาดังกล่าวครูผู้ร่วมวิจัยได้เสนอแนวทางในการพัฒนา คือ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการที่ทำให้ครูรู้
และเข้าใจหลักการสอนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพไม่ได้ยุ่งยากดังที่คิด และให้มีการช่วยเหลือแนะนำใน
ระหว่างที่ครูจัดการเรียนการสอน ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น